Last updated: 27 ก.ค. 2564 | 2166 จำนวนผู้เข้าชม |
บ่ายวันหนึ่งในช่วงสุดสัปดาห์กลางปี 2533 ผมขี่มอเตอร์ไซค์พาแม่ไปตลาดในตัวเมืองอยุธยา เป็นกิจวัตรประจำช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ของแม่ เนื่องจากที่บ้านผมอยู่ออกนอกตัวเมืองมาค่อนข้างไกล หนทางเข้าเมืองเป็นถนนลูกรัง ขรุขระ แม่จึงไม่ชอบมาเองคนเดียว การจ่ายตลาดของแม่นับว่าเป็นสิ่งที่น่าเบื่อสำหรับเด็กวัยรุ่นอย่างผม ผมจึงบอกแม่ว่าผมจะรออยู่ที่รถ ให้แม่ไปเดินจ่ายตลาดคนเดียวตามสบาย ส่วนมากในเวลาที่ผมรอแม่จ่ายตลาด ผมมักจะไปรอที่ร้านขายหนังสือใกล้ๆที่จอดรถ หาอ่านหนังสืออ่านแก้เซ็ง วันนั้นก็เช่นเคยครับ ผมไปที่ร้านหนังสือร้านเดิม ผมเห็นหนังสือพ๊อคเก็ตบุ๊คเล่มหนึ่งเพิ่งมาใหม่ ปกสีฟ้าน่าสนใจ ชื่อหนังสือเห็นชัดเจนเขียนว่า 'ไกด์บางกอก' โดย 'ต๊ะ ท่าอิฐ' กลับมาอักครั้งในยุคที่การท่องเที่ยวเฟื่องฟู หนังสือเล่มนี้เป็นการตีพิมพ์ครั้งที่สองโดยสำนักพิมพ์ 'จันทิมา' พวกเขาเป็นแฟนคลับที่ติดตามผลงานของ 'ต๊ะ ท่าอิฐ' มาตั้งแต่ยุคที่ ‘ไกด์บางกอก’ ตีพิมพ์ในฟ้าเมืองไทย 'ต๊ะ ท่าอิฐ' ได้กลายเป็นฮีโร่ของพวกเขาตั้งแต่บัดนั้น พวกเขาตีพิมพ์อีกครั้งหนึ่งจนเป็นหนังสือ 'ไกด์บางกอก' ที่ผมได้เห็นอยู่ในขณะนี้
ผมตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มนี้ทันทีหลังจากอ่านคำนำไปเพีบงไม่กี่บรรทัด เรื่องนี้เคยตีพิมพ์ที่นิตยสารฟ้าเมืองไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2514-2516 หรือเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว เป็นเรื่องนักศึกษาธรรมศาสตร์คนหนึ่งที่มีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ เขาใช้เวลาว่าง(หรือโดดเรียน) มาเป็นไกด์ที่วัดโพธิ์ท่าเตียน ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นยาขมหม้อใหญ่ของผม กลายเป็นขนมหวานของเขาอย่างน่าอิจฉา จากประสบการณ์ และอีกหลายเหตุการแปลกประหลาดอย่างคาดไม่ถึง จนเกิดเป็นเรื่องราวต่างๆมากมายสำหรับคนธรรมดา ที่ไม่ใช่ไกด์ ไม่สามารถจะมีประสบการณ์เช่นนี้ได้ เช่นการพาฝรั่งไปเที่ยวที่ต่างไม่ว่าจะเป็นวัด-วัง สัมเลเทเมากับฝรั่ง โดนฝรั่งแหกตา ฝรั่งขี้โกงก็มี รวมไปถึงเรื่องความรักระหว่างไกด์ไทยกับนักท่องเที่ยวสาวชาวตะวันตก เรื่องต่างๆเหล่านี้ทำให้เด็กวัยรุ่นอย่างผมซึ่งในขณะนั้น ผมอายุเพียง 17 ปีใน เริ่มสนใจขึ้นมาทันที และผมได้วางเป้าหมายชีวิตในอณาคตไว้ว่า โตขึ้น ผมอยากเป็นไกด์ หนึ่งในบรรไดสู่ความฝันของผมก็คือการเรียนภาษาอังกฤษ ผมขอเงินคุณย่าเพื่อมาเรียนภาษาในช่วงเสาร์-อาทิตย์ ที่กรุงเทพ(สถาบันสอนภาษา บริติช-อเมริกัน แถวโชคชัย4) จนเวลาผ่านมาหลายปี ผมได้มาเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และผมก็ยังพกพาความฝันมาด้วย
‘ต๊ะ ท่าอิฐ’ ได้กลายเป็นฮีโร่ตัวจริงในชีวิตผมไปโดยปริยาย เพราะหนังสือ ‘ไกด์บางกอก’ ทุกเล่ม ผมเอาติดตัวมาด้วยเมื่อผมย้ายเข้ามาอยู่กรุงเทพ และนานๆทีผมก็จะอ่านมันอีกสักครั้งเพื่อเป็นการย้ำเตือนตัวเองว่า ความฝันและเป้าหมายในชีวิตของผมคืออะไร
หลังเรียนจบจากคณะการตลาดมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ชีวิตผมก็ติดอยู่กับวังวนที่ว่าเราต้องทำงานเกี่ยวกับการตลาดหรือไม่ก็เป็นเซลล์ ผมก็เป็นหนึ่งในคนพวกนั้น ผมละทิ้งความฝัน และได้ทำงานตรงกับสาขาที่เรียนมา ที่สำคัญผมสนุกกับมันซะด้วยสิ แต่ชื่อของ ‘ต๊ะ ท่าอิฐ’ ก็ยังเป็นฮีโร่ในใจผมเสมอ และนานๆทีผมก็หยิบหนังสือ ‘ไกด์บางกอก’ มาอ่าน ซึ่งผมเป็นสมบัติส่วนตัวที่ผมรักและหวงแหนมาก จนวันนึงผมมีความคิดว่า ถึงแม้ผมไม่ได้เป็นไกด์แต่ผมอยากที่จะพิมพ์หนังสือ 'ไกด์บางกอก' เพื่อที่ว่า หนังสือเล่มนี้ อาจเป็นแรงบรรดาลใจให้รุ่นน้องที่มีโอกาสได้อ่านหนังสือเล่มนี้เกิดมี่ความอยากที่จะเป็นไกด์เหมือนที่ผมเคยรู้สึก ถึงแม้ว่าจะไม่มีโอกาสเป็นไกด์ แต่อย่างน้อย พวกเขาคงอยากเรียนภาษาอังกฤษขึ้นมาบ้าง สิ่งแรกที่ผมต้องทำคือตามหา ‘ต๊ะ ท่าอิฐ’ เพื่อขออณุญาติพิมพ์หนังสือ ‘ไกด์บางกอก’ แต่ที่จริงแล้ว ผมอยากตัวเจอตัวจริงฮีโร่ของผมมากกว่า ครั้งนี่เป็นโอกาสอันดีที่จะได้เจอ ‘ต๊ะ ท่าอิฐ’
หลังจากใช้เวลาอยู่พักนึงผมได้ทราบว่า ‘ต๊ะ ท่าอิฐ’ มีชื่อจริงว่า ‘ชูศักดิ์ ราศรีจันทร’ เป็นอาจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษที่โรงเรียนประจำจังหวัดอุตรดิตร ปัจจุบันได้เกษียนอายุราชการแล้ว และผมก็ยังได้เบอร์โทรติดต่อที่บ้านของ 'อ.ชูศักดิ์' มาอีกด้วย ผมไม่รอช้า โทรติดต่อไปทันที มีเสียงคุณป้าท่านนึงรับสาย ผมขอสาย คุณลุงต๊ะ(เพราะคุณลุงแก่กว่าพ่อผมมาก) และคุณป้าในสายบอกให้ผมรอสักครู่ ผมมั่นใจละว่าไม่ผิดบ้านผิดเบอร์แน่นอน จนกระทั่งผมได้ยินเสียงคุณลุงคนนึงมารับสาย ผมถามว่าคุณลุงต๊ะใช่มั้ยครับ คุณลุงคงงงมากที่มีคนมาเรียกว่า ‘ลุงต๊ะ’ เพราะไม่มีใครรู้จักชื่อนี้ และเรื่องราวของ ‘ไกด์บางกอก’ และ ‘ต๊ะ ท่าอิฐ’ ก็นานมากแล้ว ไม่น่าจะมีใครจำได้ ผมจึงแนะนำตัวเองว่าเป็นแฟนหนังสือ ‘ไกด์บางกอก’ ที่สำนักพิมพ์ ‘จันทิมา’ ที่นำมาพิมพ์ใหม่(ปี2533) คุณลุงจึงถึงบางอ้อว่าทำไมยังมีคนรู้จัก ‘ต๊ะ ท่าอิฐ’ และหลังจากผมแจ้งความประสงค์ที่จะขออณุญาติพิมพ์หนังสือไกด์บางกอกแล้ว วันรุ่งขึ้น ผมนั่งรถทัวร์จากกรุงเทพ ไปอุตรดิตถ์ทันที เพราะความที่อยากเจอคุณลุง ผมนัดเจอคุณลุงช่วงบ่าย คุณลุงขับรถมารับผมที่สถานีขนส่งอุตรดิตร และพาผมไปนั่งคุยกันที่ร้านกาแฟของเพื่อนคุณลุงซึ่งอยู่ในตัวเมือง คุณลุงในวัยเจ็ดสิบปี(ในขณะนั้น) ยังดูเท่ห์มากและความสูงประมาณเกือบร้อยแปดสิบเซนติเมตร ถือว่าสูงมากสำหรับคนไทยในยุคนั้น เป็นเครื่องการันดีได้ถึงประสบการณ์อันโชกโชนกับนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลก
คุณลุงต๊ะอัธยาศรัยดีมาก เล่าเรื่องประสบการในการเป็นไกด์ของคุณลุง จนผมลืมไปว่าวันนี้ตั้งใจจะมาขออณุญาติพิมพ์หนังสือ ‘ไกด์บางกอก’ จนเวลาผ่านไปถึงหกโมงเย็น ผมไม่ได้คุยเรื่องพิมพ์หนังสือกับคุณลุงเลยสักคำ และก่อนที่รถเที่ยวสุดท้ายกลับ กทม จะหมด คุณลุงมาส่งผมที่สถานีขนส่งอีกครั้ง ผมดีใจที่ได้เจอฮีโรี่ในชีวิตจริงของผม และประทับใจในความใจดีในการแบ่งปัญประสบการณ์ รวมถึงความเอื้ออาทรของคุณลุงเป็นอย่างมาก ในเวลานั้นผมลืมเรื่องพิมพ์หนังสือไปหมดสิ้น ผมบอกกับตัวเองว่า นี่คืออาชีพที่เป็นตัวตนของผมจริงๆ(คนเราหนีความเป็นตัวเองไม่ได้จริงๆครับ)
เช้าวันรุ่งขึ้น ผมโทรไปที่กระทรวงการท่องเที่ยว(ททท.) เพื่อสอบถามเรื่องการอบรมไกด์ ทางกระทรวงบอกมาว่าเพิ่งปิดรับสมัครไปเมื่อวานนี้เอง ถ้าอยากทราบรายละเอียดให้ติดต่อไปที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ผมจึงโทรไปที่สำนักวิชาการมหาวิทยาลัยศิลปากร ทราบว่าจะมีการสอบคัดเลือกเพื่ออบรมไกด์อาทิตย์หน้า ผมจึงขอไปสมัครเพื่อสอบคัดเลือก ทางมหาวิทยาลัยอณุญาติให้ผมไปสมัครเป็นคนสุดท้ายในรุ่นนั้นครับ มีคนมาสมัครเกือบสองร้อยคนแต่ทางมหาวิทยาลัยต้องการรับเพียงแปดสิบคนเท่านั้น ผมมีเวลาเตรียมตัวเพียงหนึ่งสัปดาห์ก่อนสอบ ในใจก็เป็นกังวลเล็กน้อยเพราะหากผมสอบไม่ผ่าน นั่นหมายถึว่าความฝันที่จะเป็นไกด์ของผมคงหมดอยู่เพียงเท่านี้
แต่ในที่สุด ผมก็สอบผ่านได้เข้ารับการอบรมณ์มัคคุเทศก์ของมหาวิทยาลับศิลปากรตามที่ใจหวัง การอบรมณ์มัคคุเทศก์ใช้เวลาหกเดือนครับ และต้องมีการสอบก่อนที่จะจบหลักสูตร และแน่นอน ผมเป็นหนึ่งในรุ่นเดียวกันที่สอบผ่านและได้ใบอณุญาติเป็น มัคคุเทศก์หรือที่เรียกติดปากกันว่า ‘บัตรไกด์’ สีบรอนด์เงิน
ในที่สุด ความฝันในวัยเด็กของผมก็เริ่มกลับมาอีกครั้งนึงคือความอยากเป็นไกด์ วันแรกที่ผมได้รับบัตรไกด์จากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในตอนเช้า ผมมุ่งหน้าไปสมัครงานที่บริษัททัวร์ในช่วงบ่ายทันที และบริษัทแรกที่ผมไปสมัครก็คือบริษัท ‘แกรนด์เพิร์ล’ เพราะผมทราบว่าบริษัทนี้มีทัวร์ไปอยุธยาโดยตอนเช้าไปโดยรถบัส และในขากลับ นั่งเรือกลับ ผมอยากร่วมงานกับบริษัทนี้เพราะว่าผมจะได้มีโอกาสพานักท่องเที่ยวมาทัวร์ที่อยุธยาอันเป็นบ้านเกิดของผมด้วย ผมจึงตัดสินใจไปสมัครบริษัทแกรนด์เพิร์ลเป็นที่แรก และโดยการสนับสนุนของคุณบอย ธีรวุฒ เจ้าหน้าที่ดูและเรื่องทัวร์ของ แกรนด์เพิร์ล ผมจึงโชคดีที่ได้มีโอกาสสัมภาษณ์กับคุณ' โศรดา ทรงไตร' หรือ 'คุณนก' กรรมการผู้จัดการ โดยที่ผมไม่ได้นัดมาก่อนล่วงหน้า คุณนกใจดีมากครับ ให้โอกาศผมได้เริ่มมาฝึกงานที่บริษัทรในฐานะ 'มัคคุเทศก์ฝึกหัด' แต่บอกกับผมว่า ‘เธอยังเป็นไกด์ไม่ได้หรอกนะ เพราะเธอไม่มีประสบการณ์ เธอต้องเริ่มจากทำทรานส์เฟอร์ไปก่อน(รับแขกจากโรงแรมมายังท่าเรือริเวอร์ซิตี้เพือลงเรือดินเนอร์ และส่งกลับ) และค่อยๆเริ่มจากการทำทัวร์ที่เป็นรถตู้ จากนั้นค่อยเป็นรถบัส ให้บอยคอยจัดตารางให้เธอละกัน’ และนี่คือโอกาสครั้งแรกในชีวิตของผมที่จะได้เป็นไกด์ดังที่หวังเอาไว้ หลังจากนั้นผมก็เริ่มตามทัวร์ และทำทรานส์เฟอร์ไปในเวลาเดียวกันในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เพราะตอนนั้นผมยังทำงานประจำอยู่ จากนั้นไม่นานผมได้มีโอกาสทำทัวร์โดยรถตู้ และทำรถบัสในเวลาถัดมา ไม่นานนักผมก็ตัดสินใจลาออกจากงานประจำบริษัท ‘มิตซูบิชิมอีเลคทริค ออโตเมชั่น ไทยแลนด์’ เพื่อมาเป็นไกด์อาชีพเต็มตัว และเส้นทางชีวิตในการเป็นไกด์อาชีพของผมก็เริ่มจากนั้นเป็นต้นมาจนกระทั่งปัจจุบัน แน่นอนว่าแนวทางการทำทัวร์ ผมมีแบบอย่างมาจากฮีโร่ของผม ‘ต๊ะ ท่าอิฐ’ และผมก็ยังคงติดต่อคุณลุงต๊ะอยู่เสมอๆ ผมยังมีความคิดที่จะพิมพ์หนังสือ ‘ไกด์บางกอก’ อยู่ครับ แต่คราวนี้ผมจะเขียนจากประสบการณ์ของผมเอง ตามที่คุณลุงต๊ะแนะนำ โดยผมขออณุญาติคุณลุงว่าขอใช้นามปากกาว่า ‘ไกด์บางกอก’ และคุณลุงก็อณุญาติให้ผมใช้นามปากกานี้ด้วยครับ
และทั้งหมดนี้คือที่มาของชื่อ #ไกด์บางกอก ซึ่งเป็นแฮชแท็กที่ผมใช้อยู่เป็นประจำ และผมยังใช้ชื่อเพจ 'Guide Bangkok ไกด์บางกอก' ในโซเชี่ยลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter หรือ Instagram
ผมขอขอบคุณคุณลุง ‘ต๊ะ ท่าอิฐ’ ไว้ ณ.ที่นี้ด้วยครับ ที่เขียนหนังสือ 'ไกด์บางกอก' ขึ้นมา ทำให้ผมมีความฝัน และเป้าหมายในชีวิต ถ้าคุณลุงไม่มารับผมที่สถานีขนส่งในวันนั้น คงไม่มีอะไรมาเป็นแรงผลักดันให้ผมมาเป็นไกด์
ขอบคุณ คุณนก(โศรดา ทรงไตร) ที่ให้โอกาสไกด์ที่ไม่มีประสบการณ์อย่างผมได้เริ่มต้น ถ้าพี่นกไม่ให้โอกาสผมในวันนั้น ผมคงไม่ได้มาเป็นไกด์เหมือนในวันนี้
ขอขอบคุณพี่เล็ก (กาญจนา) และพี่ดม (คุณอุดม) บริษัท ETC ที่ให้โอกาสผมและสอนผมในรูปแบบของการทำทัวร์แบบ Around จากจุดนั้นเองครับ ที่ทำให้ผมได้มีประสบการณ์และได้เติบโตในอาชีพไกด์
ขอขอบคุณ พี่ปีเตอร์ พี่ชายที่แสนดี และไกด์จีระพัน ที่ผมเคยตามทัวร์ในช่วงแรกๆคอยให้คำแนะนำในทุกๆเรื่องในวิชาชีพไกด์ จนผมได้มีโอกาศเป็นไกด์ของเรือ แกรนด์เพิร์ลอย่างภาคภูมิใจ
ขอขอบคุณ คุณแม่พิมพ์ชัชว์ คุ้มพงษ์ คุณแม่คนที่สองในชีวิตผม ที่เมตตาเด็กนักเรียนที่เกเรหรือเด็กหลังห้องอย่างผม และยังเรียกให้ไปเรียนภาษาอังกฤษที่บ้านในทุกๆวันหยุดสุดสัปดาห์ และที่สำคัญ ถ้าไม่มีคุณแม่พิมพ์ชัชว์ในวันนั้น ผมคงไม่มีโอกาศเรียนจบแม้กระทั่งชั้นมัธยมต้นแน่เลย และชีวิตผมคงจะไม่ได้เป็นไกด์อย่างทุกวันนี้
ขอขอบคุณ พี่จุล พ่อคนที่สองของผมที่ช่วยสอนกีต้าร์จนผมได้เป็นนักดนตรีอาชีพ ในชีวิตช่วงเรียนมหาวิทยาลัย และพี่จุลยังสอนภาษาอังกฤษผมด้วย และพี่จุลยังเป็นเทรนเนอร์ในเรื่อง กีต้าร์ และภาษาอังกฤษให้ผมจนทุกวันนี้เลยละ
ขอบคุณพ่อกับแม่ที่ปลูกฝังสิ่งดีๆให้ผม ทำให้ผมได้มีวันนี้ น่าเสียดายที่พ่อไม่ได้เห็นผมในวันนี้ แต่ผมคิดถึงพ่อเสมอ ผมขอสัญญาว่าจะดูแลแม่และน้องให้ดีที่สุดครับ
ไกด์บางกอก
24 พ.ย. 2563
24 พ.ย. 2563
25 พ.ย. 2563
3 มี.ค. 2564